ข้อได้เปรียบของ Downsizing Engine
BANGKOK: “Downsizing Engine” (ดาวน์ไซส์ซิง เอนจิน) คือเทคโนโลยีของเครื่องยนต์เบนซินที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันนี้ ด้วยการที่ว่าเทคโนโลยีนี้ช่วยให้เครื่องยนต์มีสมรรถนะที่มากขึ้น ประหยัดน้ำมันมากขึ้น รวมไป ด้วยข้อได้เปรียบที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้ Downsizing Engine กลายมาเป็นเทรนด์ในอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างปฏิเสธไม่ได้
ในขณะนี้ ผู้ผลิตรถยนต์หลายค่ายกำลังเบนเข็มทิศทางของการพัฒนารถยนต์ไปที่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นั่นก็คือการลดปริมาณไอเสียที่ปล่อยออกมาให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งการพัฒนารถรักษ์โลกนี้ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติเพียงเพื่อจะได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจแต่เพียงเท่านั้น หากแต่ยังเป็นจิตสำนึกที่ผู้ผลิตรถยนต์พึงมีในฐานะมนุษย์คนหนึ่งอีกด้วย
ปัจจุบันนี้ รถยนต์หลายค่ายต่างพากันพัฒนารถยนต์ไฮบริดไฟฟ้า-น้ำมันซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง ส่งผลให้มีไอเสียในปริมาณที่ลดลงอีกด้วย นอกจากนั้น ยังมีค่ายรถยนต์อีกหลายค่ายที่โฟกัสไปที่การพัฒนารถไฟฟ้า 100% ที่ไม่มีการปล่อยไอเสียออกมาเลยแม้แต่มิลลิกรัมเดียว
นอกเหนือจากรถไฮบริดและรถไฟฟ้าแล้ว ยังมีเทคโนโลยีอีกอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า Downsizing Engine (ดาวน์ไซส์ซิง เอนจิน) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับเครื่องยนต์เบนซินเป็นหลัก โดยมีหลักการอยู่ 2 ข้อก็คือ 1.ลดความจุ 2.เพิ่มระบบอัดอากาศ วิธีการลดความจุนั้นก็คือการลดจำนวนกระบอกสูบนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น จากเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร 4 กระบอกสูบ ก็เหลือความจุ 1.5 ลิตร 3 กระบอกสูบ เป็นต้น การลดกระบอกสูบนอกจากจะลดอัตราการบริโภคน้ำมันแล้ว ยังทำให้น้ำหนักของเครื่องยนต์ลดลง ซึ่งส่งผลดีต่ออัตราเร่งและสมรรถนะของรถยนต์
ส่วนการเพิ่มระบบอัดอากาศก็คือการติดตั้งเทอร์โบชาร์จเจอร์หรือซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ แต่โดยมาแล้วผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่จะเลือกใช้เทอร์โบเสียมากกว่า เนื่องจากว่ามันมีความได้เปรียบในเชิงประสิทธิภาพนั่นเอง
นอกจากการลดความจุและพ่วงด้วยระบบอัดอากาศแล้ว ยังมีการนำระบบการฉีดเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้โดยตรง หรือที่เรียกว่า Direct Injection (ไดเร็ค อินเจคชั่น) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้ ซึ่งส่งผลดีต่ออัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงรวมไปถึงปริมาณไอเสียที่ปล่อยออกมาด้วย
โดยสรุปแล้ว เครื่องยนต์ที่ใช้เทคโนโลยี Downsizing จะทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์ประเภทนี้มีข้อได้เปรียบอยู่หลายประการ ดังนี้
- ประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการลดความจุเครื่องยนต์
- สมรรถนะเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ระบบอัดอากาศ(เทอร์โบชาร์จเจอร์)
- ลดปริมาณไอเสีย ซึ่งเป็นผลมาจากการลดอัตราการบริโภคน้ำมัน รวมไปถึงระบบฉีดตรง (Direct Injection) ที่ช่วยให้การเผาไหม้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์
ในส่วนของผู้ผลิตรถยนต์ที่เข้ามาทำตลาดในไทย ก็ได้มีการเริ่มนำเทคโนโลยี Downsizing มาให้คนไทยได้สัมผัสกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่ายรถยนต์สัญชาติอเมริกันอย่าง Ford หรือค่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นอย่าง Nissan
เครื่องยนต์ EcoBoost ที่อยู่ใน ฟอร์ด เฟียซต้า และ ฟอร์ด โฟกัส ที่กำลังจะมาให้คนไทยยลโฉมในงานมอเตอร์โชว์เดือนมีนาคมนี้ นับเป็นเครื่องยนต์ Downsizing ที่ประสบความสำเร็จที่สุด เครื่องยนต์ของ ฟอร์ด โฟกัส มีความจุเพียง 1.5 ลิตร แต่สามารถเค้นแรงม้าได้มากถึง 180 แรงม้า ที่รอบเครื่องยนต์ 6000 รอบต่อนาที
ทางฝั่งของ Nissan นั้น ได้ส่ง “นิสสัน ซิลฟี่ 1.6 ดี-ไอ-จี” (Nissan Sylphy 1.6 DIG) ซึ่งใช้เครื่องยนต์ 1.6 ลิตรพ่วงกับระบบเทอร์โบชาร์จเจอร์สร้างแรงม้าได้ 190 แรงม้า ซึ่งเข้ามาทำตลาดในฐานะรถยนต์เครื่องเทอร์โบเจ้าแรกในตลาด C-Segment
นอกจากนั้น เครื่องยนต์ของ All-new Honda Civic ซึ่งจะทำการเปิดตัวที่ประเทศไทยในเดือนมีนาคมนี้ ก็มาพร้อมกับเทคโนโลยี Downsizing เช่นเดียวกัน โดยตัวท็อปไลน์ของ ฮอนด้า ซีวิค 2016 มากับเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร เทอร์โบชาร์จเจอร์ สร้างแรงมาได้ 173 แรงม้า
ในขณะที่รถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้ากำลังถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วและกำลังจะกลายเป็นอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ในขณะเดียวกัน เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันก็ถูกต่อลมหายใจด้วยเทคโนโลยี Downsizing ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยยื้อชีวิตให้กับเครื่องยนต์น้ำมันหรือไม่ หรือว่าเทคโนโลยี Downsizing จะเป็นลมหายใจสุดท้ายของเครื่องยนต์เบนซิน
Keywords (Avg searches per month) : Downsizing Engine (90) ,ฟอร์ด โฟกัส (4,400), EcoBoost(22,200) , ฮอนด้า ซีวิค 2016 (9,900), เทอร์โบชาร์จเจอร์ (260)
You might also be interested in
- ข่าว
- เรื่องราวที่โดดเด่น
- ล่าสุด
- ล่าสุด
- เป็นที่นิยม